ความรู้น้ำมันเครื่อง
นํ้ามันเครื่อง หมายถึง นํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายใน ซึ่ง
มีทั้งเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล โดยจะทําหน้าที่หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ที่เคลื่อนไหวภายในเครื่องยนต์เช่น ลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยงเพลาลูกเบี้ยวและแบริ่ง นํ้ามันเครื่องจะสร้างฟิล์มบางๆ เข้าไปแทรกอยู่ ระหว่างผิวหน้าของชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้น เพื่อป้องกันการสัมผัสกันโดยตรง ของโลหะ ลดการเสียดสีลดแรงเสียดทาน และลดการสึกหรอ ทําให้เครื่องยนต์
มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ช่วยดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนต่างๆ จะชําระล้างสิ่งสกปรกหรือเขม่า
และตะกอนที่สะสมอยู่ไหลปะปนมากับนํ้ามันเครื่องแล้วเขาสู่ไส้กรองนํ้ามันเครื่อง นํ้ามันเครื่องจะแทรกเข้าไประหว่างลูกสูบ แหวนลูกสูบ และกระบอกสูบ เพื่อรักษาแรงอัดของเครื่องยนต์ กรดที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทําให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน นํ้ามันเครื่องจะเคลือบผิวชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ป้องกันการเกิดสนิมและทําให้ความเป็นกรดลดลงต่างๆ เป็นต้น
นํ้ามันเครื่อง ผลิตจากการผสมนํ้ามันเครื่องลื่นพื้นฐาน (Base Oil) กับสารปรุงแต่งเพิ่มคุณภาพ (Additives) ในสัดส่วนต่างๆกัน น้ำมันเครื่องพื้นฐาน(Base Oil)จะทําให้นํ้ามันเครื่องมีความหนืดหรือความข้นใส ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่
- น้ำมํนแร่ธาตุ (Mineral Oil) เป็นน้ำามันหล่อลื่นพื้นฐาน(Base Oil) ซึ่งได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียมโดยตรงแล้วผสมกับสารเคมีปรุงแต่ง(Additive)ชั้นดีเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้น้ำมันเครื่องให้มีสารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม สารป้องกันการเกิดฟอง สารลดจุดไหลเท สารรับแรงกดสูง สารลดการเสียดสีและ สารเพิ่มดัชนีความหนืด แต่มีคุณสมบัติด่อยกว่าพวกน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ และพวกสังเคราะห์แท้
- น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์(Semi-Synthetic) เป็นการนำเนื้อน้ำมันพื้นฐาน(Base Oil)กลุ่มที่3ไปผสมกับการสารเคมีปรุงแต่ง(Additive)คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้น้ำมันเครื่องจึง ทำให้น้ำมันเครื่องนั่นมีสารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศสารชะล้างและกระจายสิ่งสกปรก สารป้องกันการเกิดฟอง สารลดจุดไหลเท สารรับแรงกดสูง สารลดการเสียดสีและ สารเพิ่มดัชนีความหนืด สรุปมีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้แต่สู้สังเคราะห์แท้ไม่ได้แต่ดีกว่าน้ำมันเครื่องแบบแร่ธาตุ(Mineral Oil)
- เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้(Fully Synthetic Oil) เป็นการนำ เนื้อน้ำมันพื้นฐาน(Base Oil)กลุ่มที่3 หรือที่4 ไปผสมกับสารเคมีปรุงแต่งเกรดสูงเพื่อเพิ่มคุณสมบัตให้น้ำมันเครื่องมีคุณภาพดี ขึ้น มีอายุ การใช้ งานที่ ยาวนานกว่า แต่มี ราคาแพงกว่าน้ำมันแร่ธาตุสารปรุงแต่งเพิ่มคุณให้น้ำมันเครื่องจะช่วยท ให้ น้ำมันเครื่องมี คุณสมบัติ ด้านการใช้ งานที่ เหมาะสมกับเครื่องยนต์เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม สารต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศสารชะล้างและกระจายสิ่งสกปรก สารป้องกันการเกิดฟอง สารลดจุดไหลเท สารรับแรงกดสูง สารลดการเสียดสีและ สารเพิ่มดัชนีความหนืด ฯลฯ สรุปเป็นนัำมันเครื่องที่ดีกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องแร่ธาตุ
น้ำมันเครื่องพื้นฐานแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม
1.กลุ่มที่1
2.กลุ่มที่2
3.กลุ่มที่3
4.กลุ่มที่4 (PAO)เป็นกลุ่มที่ดีกว่ากลุ่มที่ 1 – 3
น้ำมันเครื้องจะมี คุณสมบัติทิ่ดีได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้น้ำมันเครื่องพื้นฐานและ สารปรุงแต่งเพิ่มคุณให้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสม และจะต้องผ่านการทดสอบกับเครื่องยนต์หลายๆ ประเภทเป็นเวลานานตามมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและให้เหมาะสมกับ การใช้งานของเครื่องยนต์แต่ละประเภทแบ่งตามชนิดความข้นใส(ความหนืด) เนื่องจากความหนืดจะมีส่วนสําคัญใน การป้องกันการสึกหรอของชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ กล่าวคือหากนํ้ามันเครื่องที่ มีความหนืดน้อยเกินไป จะไม่สามารถคงสภาพเป็นฟิล์มบางๆ แทรกระหว่าง ผิวของโลหะ หรือถ้ามีความหนืดมากไป ก็ไม่สามารถถูกปั้มไปหล่อลื่นชิ้นส่วน ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- นํ้ามันเครื่องเกรดเดียว (Monograde) โดย SAE (Society of Automotive Engineers) หรือสมาคมวิศวกรรมยานยนต์แห่งสหรัฐอเมริกาได้วางมาตรฐาน โดยแบ่งตามค่าความข้นใส ได้แก่ SAE 0W, 5W, 10W, 15W, 20W, 25W อักษร W (คือWinter) สําหรับใช้ในเขตหนาว และ SAE 20, 30, 40, 50 และ 60 สําหรับ ใช้ในเขตร้อน ตัวเลขมากยิ่งข้นมาก
- นํ้ามันเครื่องเกรดรวม (Multigrade)เช่น SAE 0W-20, 0W-30, 0W-40,5W-30, 5W-40, 10W-30, 10W-40, 15W-40, 20W-50,10W-60 เป็นต้น เป็นการพัฒนานํ้ามันเครื่องให้สามารถใช้งานได้ทั้งสภาพอากาศร้อนและเย็น นํ้ามันเครื่องเกรดรวมจะมีค่าดัชนีความหนืดสูง สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและความร้อนภายในเครื่องยนต์ได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องที่มีค่าดัชนีความหนืดต่ำกว่าและ นํ้ามันเครื่องเกรดเดียวแบ่งตามเกรดหรือชั้นคุณภาพที่ใช้งานกับประเภทเครื่องยนต์ ซึ่งมีหลายสถาบันเป็นผู้แบ่งเกรดแต่มาตรฐานที่แพร่หลาย ได้แก่ มาตรฐาน API โดยสถาบันปิโตรเลียม แห่งสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute) ที่กําหนดมาตรฐาน นํ้ามันเครื่องโดยแบ่งออกตามประเภทของเครื่องยนต์ ดังนี้
- นํ้ามันเครื่องสําหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะใช้อักษร S (Station Service) นําหน้า เรียงตามลําดับได้แก่ API: SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, SJ, SL, SM และสูงสุดในปัจจุบันคือ SN โดยประกาศเมื่อ 2553 A, B, C,.., N เป็นการแบ่งระดับชั้น คุณภาพของนํ้ามันเครื่องที่ได้พัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้น
- นํ้ามันเครื่องสําหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C (Commercial Service) นำหน้า เรียงตามลำ ดับ ได้แก่ API: CA, CB, CC, CD, CD-II, CE, CF-4, CF, CF-2, CG-4, CH-4, CI-4, CI-4 PLUS , CJ-4 และสูงสุดในปัจจุบันคือ CK-4 และFA-4 ประกาศ ใช้เมื่อเดือนตุลาคม 2560
- ประเทศไทยมีการจําหน่ายนํ้ามันเครื่องเกือบทุกชั้นคุณภาพ ยกเว้น SA,SB, CA, CB เนื่องจากเป็นชั้นคุณภาพที่ไม่มีสารเติมปรุงแต่งหรือมีน้อยมากจึง ไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้งาน ซึ่งตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่องกําหนด
ลักษณะและคุณภาพของนํ้ามันหล่อลื่น ได้กําหนดห้ามไม่ให้มีการจําหน่าย นํ้ามันเครื่องชั้นคุณภาพดังกล่าวแล้ว API บงบอกถึงคุ ณภาพและประสิทธิ ภาพของน มันเครื่อง โดยน้ำมั นเครื่อง ที่จําหน่ายในปัจจุบันส่วนใหญ่มีการระบุ API ที่มีอักษร S และ C อยู่ด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ กับ เครื่องยนต์ เบนซิ นและดี เซล เช่น API: SF/CF, CG-4/SG
มาตรฐานของกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป กําหนดโดยสมาคมผู้ผลิต ยานยนต์ในทวีปยุโรป (ACEA : Association of European Automotive Manufacturers) เช่น ACEA A3/B4-12 (สําหรับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลขนาด เล็กส่วน-12 คือปีค.ศ.ที่ได้แก้ไข้ข้อกำหนดใหม่ของปี2012 สำหนับเครื่องยนต์รุ่นใหม่ตั้งแต่ปี2012), ACEA E4 (สําหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่) เป็นต้น
มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น กําหนดโดยองค์กรมาตรฐานรถยนต์ของ ประเทศญี่ปุ่น (JASO : Japan Automotive Standard Organization) เช่น JASO DH–1 (สําหรับดีเซล)
มาตรฐานกลาง (Global) ซึ่งสมาคมผู้ผลิตเครื่องยนต์ในประเทศ สหรัฐอเมริกา (EMA : Engine Manufacturers Association) ในทวีปยุโรป (ACEA) และประเทศญี่ปุ่น (JAMA : Japan Automobile Manufacturers Association) ได้ร่วมกําหนดขึ้น เช่น Global DHD–1 และ DLD–1 (สําหรับดีเซล ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก) เป็นต้น
มาตรฐานเฉพาะของผู้ผลิตเครื่องยนต์แต่ละชนิด เช่น BMW :longlife-LL-01, -LL-04 , Mercedes Benz : MB Approval 229.3, 229.5,226.5 , Volkswagen : VW 502/505.00, 502/505.01, VW:504/507.00 , Prosche-A30,- A40 เป็นต้น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง
1.มีเลขทะเบียน เช่น ธ.พ. 519007.18/2561
ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อให้นํ้ามันเครื่องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยกําหนดวิธีการให้ผู้ค้านํ้ามันที่เป็นผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้จําหน่ายที่ใช้เครื่องหมายการค้าของตนเอง ต้องแสดงสูตรการผลิต และผลการทดสอบทางเครื่องยนต์ตามมาตรฐาน และชั้นคุณภาพ
ของนํ้ามันเครื่องที่ผู้ค้านํ้ามันจะจําหน่าย ให้กรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบ (ขึ้นทะเบียน) และกําหนดเลขทะเบียนนํ้ามันเครื่องให้ผู้ค้านํ้ามันนําไปแสดงบนฉลากเพื่อให้ผู้บริโภคได้สังเกต โดยผู้ค้านํ้ามันจะต้องผลิต
น้ำมันเครื่องให้ ได้ มาตรฐานตามที่ กรมธุระกิจพลั งงานกำาหนดและให้ ความเห็ นชอบไว้และกรมธุรกิจพลังงาน มีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำมันเครื่องจากผู้ ค้าน้ำมั นแต่ละรายที่ ได้ รับความเห็ นชอบเป็นประจำ ทุกปีเพื่อนำมา ตรวจสอบคุณภาพในห้องปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัติการค้านํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 กําหนดโทษผู้ค้า นํ้ามันและผู้ประกอบการที่จําหน่ายนํ้ามันเครื่องที่ไม่ได้รับความเห็นชอบ หรือมี คุณภาพแตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และสําหรับผู้ที่ทําการปลอมปน นํ้ามัน หรือกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งอันทําให้นํ้ามันเครื่องมีลักษณะและ คุณภาพแตกต่างไปจากที่กําหนดและให้ความเห็นชอบ หรือลดคุณภาพ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ทั้งนี้สามารถแจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนได้ที่ส่วนตรวจสอบ สํานักคุณภาพนํ้ามันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน หมายเลข โทรศพทั 0 2-794 -4224 หรือ 08-9205-2333 โทรสาร02-794-4200 หรือแจ้งผ่านพลังงานจังหวัดในภูมิลําเนาของท่าน
ทั้งนี้สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยตรวจคนรายชื่ อผู้ ค้า น้ำมันและเลขทะเบี ยนที่ ได้ รับความเห็ นชอบจากเว็ บไซต์ กรมธุรกิจพลังงาน www.doeb.go.th หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่กลุ่ม พัฒนามาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น สำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพล งกรมธุรกิจพลังงาน โทรศัพท์ 0 2794 4206, 0 2794 4211, 0 2794 4214-5 โทรสาร 0 2794 4200
2.มีเกรดมาตรฐานด้านการใช้งาน API และเกรดความหนืด SAE
ตามที่แนะนําไว้ในคู่มือประจํารถซึ่งจะระบุเกรด หรือมาตรฐานด้านการใช้งาน และชนิด ความหนืดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละรุ่น
3.รายละเอียดของฉลากบนภาชนะบรรจุนํ้ามันเครื่อง
จะต้องระบุชื่อของผู้ผลิต หรือผู้นําเข้า หรือผู้จําหน่าย มีชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ที่ได้รับความเห็นชอบ มาตรฐานการใช้ งาน ชั้นคุณภาพ ชนิดความหนืดข้อแนะนําการใช้งาน ปริมาณที่บรรจุ
4.สถานที่จําหน่าย
ควรจะเป็นสถานที่เปิดเผย หรือน่าเชื่อถือ หรือเป็นร้านค้า ตัวแทนจําหน่ายของบริษัทฯ โดยตรง